ภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านมากระบวนการเลือกสรร เรียนรู้ ปรุงแต่ง พัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมาเพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัยภูมิปัญญาท้องถิ่นแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ ภูมิปัญญาชาติ หรือ ภูมิปัญญาไทย กับภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง กระบวนทัศน์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนทัศน์ดังกล่าวจะมีรากฐานจากคำสอนทางศาสนคติ จารีตประเพณี ที่ได้รับจากการถ่ายทอดสั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องมา ปรับปรนเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละสมัย ทั้งนี้โดยเป้าหมายเพื่อความสงบสุขของคน ทั้งในส่วนที่เป็นชุมชนและปัจเจกบุคคล ซึ่งกระบวนทัศน์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น จำแนกได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
ลักษณะที่ 1 ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
ลักษณะที่ 2 ภูมิปัญญาเกี่ยวกับระบบสังคมหรือการจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
ลักษณะที่ 3 ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการผลิต หรือการประกอบอาชีพที่มีลักษณะมุ่งเน้นระบบการผลิตเพื่อพึ่งตนเอง
มีกระบวนการที่เกิดจากการสืบทอด ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ แล้วพัฒนา เลือกสรร ปรับปรุงองค์ความรู้ เหล่านั้นจนเกิดทักษะและความชำนาญที่สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย แล้วเกิดภูมิปัญญา (องค์ความรู้ใหม่) ที่เหมาะสมและสืบทอดพัฒนาต่อไปไม่สิ้นสุด
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลห้วยซ้อ ที่รู้จักและควรนำไปใช้ในการเรียนการสอนมากที่สุด ได้แก่ ทอผ้า รองลงมาได้แก่ การจักสาน และการทำไม้กวาดตามลำดับดังแสดงรายละเอียดในตาราง
ลำดับที่ |
รายการ |
ความถี่ |
1 |
การทอผ้า |
104 |
2 |
การจักสาน |
99 |
3 |
การทำไม้กวาด |
85 |
4 |
การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในท้องถิ่น |
81 |
5 |
ขนม อาหารพื้นเมือง |
79 |
6 |
การแปรรูปผลผลิตการเกษตร |
78 |
7 |
การทำเกษตรแบบผสมผสาน |
69 |
8 |
ดนตรีพื้นเมือง |
69 |
9 |
ปัดผ้า |
60 |
10 |
การแกะสลัก |
59 |
11 |
ภาษาและวรรณกรรมล้านนา |
57 |
12 |
การละเล่นพื้นบ้าน |
47 |
13 |
งานประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง |
46 |
14 |
งานประดิษฐ์จากใบตอง |
44 |
|